หน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (Authority)
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552
ตามราย ละเอียดดังต่อไปนี้
1. หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 67 ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้ 1.1 จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก 1.2 รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ และทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 1.3 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 1.4 ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1.5 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 1.6 ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ 1.7 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.8 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 1.9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร 2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 68 ซึ่งมีหน้าที่อาจจัดทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้ 2.1 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร 2.2 ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 2.3 ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ 2.4 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 2.5 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรและกิจการสหกรณ์ 2.6 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 2.7 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร 2.8 การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล 2.9 หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล 2.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม 2.11 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 2.12 การท่องเที่ยว 2.13 การผังเมือง 3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16 มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของ
ประชาชน ใท้องถิ่นตนเอง ดังนี้
3.1 การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 3.2 การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3.3 การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ 3.4 การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ 3.5 การสาธารณูปการ 3.6 การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 3.7 การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 3.8 การส่งเสริมการท่องเที่ยว 3.9 การจัดการศึกษา 3.10 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 3.11 การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 3.12 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 3.13 การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 3.14 การส่งเสริมกีฬา 3.15 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3.16 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 3.17 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 3.18 การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 3.19 การสาธารณะสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 3.20 การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 3.21 การควบคุมสัตว์เลี้ยง 3.22 การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 3.23 การรักษาความปลอดภัย 3.24 การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่า 3.25 การผังเมือง 3.26 การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 3.27 การดูแลรักษาที่สาธารณะ 3.28 การควบคุมอาคาร 3.29 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 3.30 การรักษาความสงบเรียบร้อย 3.31 กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 4. อำนาจหน้าที่และพันธกิจที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล
4.1 แก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
4.2 ต้องพัฒนาทุนทางสังคมมีความแข็งแรงและยั่งยืน
4.3 ต้องเพิ่มสมรรถนะให้ประเทศไทย พร้อมสำหรับการแข่งขัน
4.4 การพัฒนาที่ยั่งยืน
|
สำนักปลัด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ และประเภทงานธุรการ สารบรรณ การจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดร่างข้อบัญญัติ การจัดร่างข้อบังคับ การจัดทำทะเบียนสมาชิก อบต./คณะผู้บริหาร การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษางานในหน้าที่ความรับผิดชอบ การปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างการบริหารงานบุคคล อบต.ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับอนุญาตต่างๆ รวมทั้งกำหนดและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
1.1 งานบริหารทั่วไป
1.2 งานนโยบายและแผน
1.3 งานการเจ้าหน้าที่
1.4 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.5 งานสวัสดิการสังคม
1.6 งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
|
กองคลัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารการเงิน การตรวจใบสำคัญ ฏีกางานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็ญบำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงานทดลองประจำเดือน ประจำปี การยืมเงินทดลองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน การจัดเก็บภาษี การเร่งรัดการจัดเก็บภาษี การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ งานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
1.งานการเงินและบัญชี1.1 งานการเงิน
1.2 งานการบัญชี
2. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
3. งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
|
กองช่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ การออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและตรวจสอบคุณภาพพัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง การควบคุมอาคารตามระเบียบกฏหมาย งานแผนปฏิบัติงานการก่อสร้าง การควบคุมการก่อสร้าง
และซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุมการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงาน ควบคุมเก็บรักษา การเบิกจ่ายพัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิงและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย คือ
1. งานก่อสร้าง
2. งานออกแบบและควบคุมอาคารและผังเมือง
3. งานประสานสาธารณูปโภค
|
กองการศึกษา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานการศึกษาปฐมวัยงานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางศึกษา งานกิจการ ศาสนา ส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียนและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
1. งานบริหารการศึกษา
2. งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
|